กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558
ประวัติกีฬาเเฮนด์บอลของประเทศไทย
หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด
ความเป็นมาของเเฮนด์บอล
แฮนด์บอล เป็นกีฬาที่มีการเล่นกันมานาน และเริ่มต้นในยุโรป โดยมีหลักฐานว่าประเทศเยอรมันนีเป็นประเทศที่คิดการเล่นนี้ขึ้นมา เพื่อทดแทนการเล่นฟุตบอลที่เล่นในช่วงฤดูหนาวในเยอรมันไม่ได้ และผู้ที่คิดกีฬานี้ก็เป็นครูพลศึกษาเช่นเดียวกับอีกหลายชนิดกีฬาที่ครูพลศึกษาในสมัยก่อนพยายามหาเกมกีฬาขึ้นมาทดแทนกีฬาที่ต้องเล่นกันข้างนอกอาคาร การเล่นในเบื้องต้นใช้แนวทางจากการเล่นฟุตบอลเพียงแต่ใช้มือในการเล่น ไม่ใช่เท้าและเล่นกันในโรงยิมเนเซียมจำนวนนักกีฬาก็เท่ากับกีฬาฟุตบอล แต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นข้างละ 7 คนแทนข้างละ 11 คนของฟุตบอล
เมื่อแฮนด์บอลได้ถูกเผยแพร่และได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุโรป สมาพันธ์กีฬาแฮนด์บอลนานาชาติจึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อดูแล ควบคุมการแข่งขันและการสนับสนุนกิจกรรมของกีฬาแฮนด์บอลมากขึ้น โดยมีการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2447 โดยใช้ชื่อว่า The International Amateur Athletic Federation: IAAF และเปลี่ยนแปลงเป็น The International Amateur Handball Federation: IAHF ในปี พ.ศ. 2471 โดย Avery Brundage แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต่อมาเป็นประธาน IOC ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เป็นผู้ที่มีความสำคัญที่ผลักดันให้เกิดขึ้น และเป็นหนึ่งในกีฬาโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2479 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี
กติกาเเฮนด์บอล
กติกาข้อ 1 สนาม (The Playing Court )
1.1 สนามแข่งขัน (รูปที่ 1) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดยาว 40 เมตร และกว้าง 20 เมตร ประกอบด้วยเขตประตูสองด้านและเขตสนามแข่งขัน เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่า “เส้นข้าง” และเส้นสั้นเรียกว่า “เส้นประตู”
ข้อกำหนดของสนามแข่งขัน จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบต่อทีมหนึ่งทีมใด
ข้อสังเกต เพื่อความปลอดภัย ควรมีพื้นที่รอบสนามแข่งขันกว้างอย่างน้อย 1 เมตร ตลอดแนวจากด้านข้าง และกว้าง 2 เมตร ตลอดแนวจากหลังเส้นประตู
1.2 ประตู (รูปที่ 2) วางที่จุดกึ่งกลางของเส้นประตู ขอบหลังของเสาประตูแต่ละด้านและต้องวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง โดยมีความสูงวัดจากภายใน 2 เมตร กว้าง 3 เมตร
เสาประตูทั้งสองต้องเชื่อมต่อด้วยคานประตู ขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู เสาประตูและคานประตูจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดพื้นที่หน้าตัดกว้าง 8 เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน (เช่น ไม้ หรือโลหะชนิด เบาหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ) โดยทาสีตัดกันสองสีทุกด้าน และต้องตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)