วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติกีฬาเเฮนด์บอล

  กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา

          ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก
แฮนด์บอล

ประวัติกีฬาเเฮนด์บอลของประเทศไทย

  หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน  จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก

          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด

ความเป็นมาของเเฮนด์บอล

แฮนด์บอล เป็นกีฬาที่มีการเล่นกันมานาน และเริ่มต้นในยุโรป โดยมีหลักฐานว่าประเทศเยอรมันนีเป็นประเทศที่คิดการเล่นนี้ขึ้นมา เพื่อทดแทนการเล่นฟุตบอลที่เล่นในช่วงฤดูหนาวในเยอรมันไม่ได้ และผู้ที่คิดกีฬานี้ก็เป็นครูพลศึกษาเช่นเดียวกับอีกหลายชนิดกีฬาที่ครูพลศึกษาในสมัยก่อนพยายามหาเกมกีฬาขึ้นมาทดแทนกีฬาที่ต้องเล่นกันข้างนอกอาคาร การเล่นในเบื้องต้นใช้แนวทางจากการเล่นฟุตบอลเพียงแต่ใช้มือในการเล่น ไม่ใช่เท้าและเล่นกันในโรงยิมเนเซียมจำนวนนักกีฬาก็เท่ากับกีฬาฟุตบอล แต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นข้างละ 7 คนแทนข้างละ 11 คนของฟุตบอล
     เมื่อแฮนด์บอลได้ถูกเผยแพร่และได้รับความนิยมมากขึ้น ในยุโรป สมาพันธ์กีฬาแฮนด์บอลนานาชาติจึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อดูแล ควบคุมการแข่งขันและการสนับสนุนกิจกรรมของกีฬาแฮนด์บอลมากขึ้น โดยมีการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2447 โดยใช้ชื่อว่า The International Amateur Athletic Federation: IAAF และเปลี่ยนแปลงเป็น The International Amateur Handball Federation: IAHF ในปี พ.ศ. 2471 โดย Avery Brundage แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต่อมาเป็นประธาน IOC ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เป็นผู้ที่มีความสำคัญที่ผลักดันให้เกิดขึ้น และเป็นหนึ่งในกีฬาโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2479 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี

กติกาเเฮนด์บอล


กติกาข้อ  สนาม  (The Playing  Court)
            1.1  สนามแข่งขัน (รูปที่ 1) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  มีขนาดยาว  40  เมตร  และกว้าง  20 เมตร  ประกอบด้วยเขตประตูสองด้านและเขตสนามแข่งขัน  เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่า เส้นข้าง  และเส้นสั้นเรียกว่า เส้นประตู
            ข้อกำหนดของสนามแข่งขัน    จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบต่อทีมหนึ่งทีมใด
                ข้อสังเกต  เพื่อความปลอดภัย  ควรมีพื้นที่รอบสนามแข่งขันกว้างอย่างน้อย เมตร ตลอดแนวจากด้านข้าง และกว้าง เมตร  ตลอดแนวจากหลังเส้นประตู
                1.2 ประตู  (รูปที่ 2)  วางที่จุดกึ่งกลางของเส้นประตู  ขอบหลังของเสาประตูแต่ละด้านและต้องวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง   โดยมีความสูงวัดจากภายใน  เมตร   กว้าง  เมตร
                เสาประตูทั้งสองต้องเชื่อมต่อด้วยคานประตู   ขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู   เสาประตูและคานประตูจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดพื้นที่หน้าตัดกว้าง           8 เซนติเมตร  และทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน   (เช่น  ไม้  หรือโลหะชนิด  เบาหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ)  โดยทาสีตัดกันสองสีทุกด้าน  และต้องตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู